โลกของหนูแหวน : โลกของเด็กช่างสงสัย

                                                         โลกของหนูแหวนเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ผมเห็นว่าอ่านแล้วเรื่ภ??ขภ??หนูแหวนไม่เบื่อ อ่านเมื่อใดก็ได้เมื่อนั้น แม้วันเวลาที่อ่านครั้งแรกจะผ่านมานานนักหนาแล้ว แต่พอหยิบขึ้นมาอ่านในวันนี้ ก็ทำให้ยิ้มได้ ยิ้มให้ความช่างสงสัยใคร่รู้ของหนูแหวน ที่สงสัยไปเสียทั้งหมด ยิ้มให้ความใสสะอาดของจิตใจเด็ก ที่ยังไม่มีจริตมาปรุงแต่ง

และยิ้มให้วันเวลาที่ผ่านเลยมาแล้ว แต่ยังถูกตรึงแน่นไว้ในเรื่องราวของหนูแหวนที่ปรากฏในหนังสือ เมื่อเราเอาใจเข้าไปอยู่ในนั้น ติดตามหนูแหวนไปตามท้องทุ่ง ฟังหนูแหวนพูดคุยกับสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ดูหนูแหวนเล่นกับเพื่อนๆ ได้กลิ่นดินกลิ่นหญ้าเช่นเดียวกับหนูแหวน ทำให้รู้สึกเหลือเกินว่า วันเวลาไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหนเลย

เมื่อวางหนังสือลงนั่นแหละ กาลเวลาของเราจึงเคลื่อนที่มาสู่ปัจจุบัน ส่วนหนูแหวนกับวันเวลาของเธอกลับเข้าไปอยู่ในหนังสือ

ผมอ่านหนังสือโลกของหนูแหวนครั้งแรก ผมตัดสินใจทันทีว่า ผมจะซื้อหนังสือเล่มนี้เก็บไว้ให้ลูก ยิ่งถ้ามีลูกสาว ผมจะให้หนังสือเล่มนี้เป็นสมบัติของลูกสาว ทั้งๆที่ตอนคิดเช่นนี้นั้น แม้แต่คนรักที่จะเป็นแม่ของลูกในอนาคตผมก็ยังไม่มีเลย

ผมซื้อหนังสือหนูแหวนเก็บไว้อย่างดี มีโอกาสก็เอาออกมาอ่าน อ่านแล้วก็ให้ความรู้สึกสดใหม่อยู่เสมอ

หนังสือ โลกของหนูแหวน เล่ม 1 ฉบับที่ผมมีอยู่นั้น ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ2525 ราคา 25 บาท โดยสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชย์ จัดอยู่ในหนังสืออ่านสำหรับเยาวชน ชุดก่อนนิทรา 2 เป็นการตีพิมพ์ครั้งที่เท่าไรไม่ได้บอกไว้ แต่ถ้าอนุมานเอาจากคำนำของผู้เขียนในหนังสือเรื่องโลหกของหนูแหวน เล่ม 2 ซึ่งตีพิมพ์โดยสนักพิมพ์ดอกหญ้าในปี พ.ศ.2527 ที่บอกว่า โลกของหนูแหวนเกิดขึ้นเมื่อ ประมาณ 15 ปีมาแล้ว นับย้อนจากปี พ.ศ.2527 ไป 15 ปี ก็เริ่มประมาณปี พ.ศ.2512 ดังนั้น หนังสือโลกของหนูแหวนเล่มหนึ่ง อาจจะผ่านการตีพิมพ์มาก่อนหน้าปี พ.ศ.2525 แล้วก็ได้

ผู้เขียนหนังสือโลกของหนูแหวนคือ ศราวก ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่าเป็นนามปากกาของ อนุช อาภาภิรมย์ นักเขียนนักกิจกรรมรุ่นคนเดือนตุลา ที่เข้าป่าร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่นคนอื่นๆหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาม พ.ศ.2519 หลายคนเรียกอนุช อาภาภิรมย์ว่าอาจารย์ รวมทั้งผมด้วย ซึ่งต่อไปจะขอเรียกว่าอาจารย์อนุช

ผมเคยได้ทำงานกับอาจารย์อนุชช่วงหนึ่งสั้นๆ ประมาณ ปี 2537 หรือ 2538 ก็จำไม่แน่ชัด โดยที่อาจารย์อนุชทำงานร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตหนังสือนิตยสารวิทยาศาสตร์ในชื่อ วิทยาศาสตร์อนาคต ผมทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการอยู่ช่วงหนึ่งก็ออกมา แม้เป็นเพียงช่วงสั้นๆที่ได้ทำงานกับอาจารย์อนุช ผมก็ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง ได้ใกล้ชิดกับนักเขียนที่ตนเองชื่นชอบและยอมรับว่ายิ่งใหญ่คนหนึ่ง ทั้งๆที่ไม่เคยนึกฝันว่าจะได้พบเจอใกล้ชิดขนาดนี้…

อ่านเพิ่มเติม